เสวนา Professional Development

โดย ed center chula วันที่ 7 มีนาคม 2017 17:07  

โครงการเสวนา Professional Development : ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทย TJI, TCI, สกอ. ร่วมมือกันได้อย่างไรดี
—————————-
1.หลักการและเหตุผล
ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทย เป็นฐานข้อมูลที่บรรณารักษ์ต้องจัดทำควบคู่มากับฐานข้อมูล OPAC มาโดยตลอด ทั้งนี้ห้องสมุดเกือบทุกแห่งจะจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีฯ โดยคัดเลือกบทความจากวารสารภาษาไทยที่แต่ละห้องสมุดได้รับ แล้วบันทึกลงในฐานข้อมูล จึงเป็นที่มาของ
(1) การทำงานซ้ำซ้อนกัน เพราะห้องสมุดในสาขาวิชาเดียวกันจะได้รับวารสารชื่อเรื่องซ้ำกัน และ (2) ความไม่สมบูรณ์ของฐานข้อมูล ทั้งนี้เพราะหน่วยงานที่จัดพิมพ์อาจจะส่งตัวเล่มให้แต่ละห้องสมุดไม่ครบทุกฉบับที่จัดพิมพ์  ในส่วนของห้องสมุดมหาวิทยาลัย คณะทำงานฝ่ายวารสารและเอกสาร ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้หาแนวทางการแก้ปัญหานี้โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดย Export ข้อมูลบทความที่บันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูลของแต่ละห้องสมุดออกมาในรูปแบบ ISO2709 ส่งให้แต่ละห้องสมุดมหาวิทยาลัยในข่ายงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน และเพื่อความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ปัญหาทั้งสองก็ยังคงอยู่
อีกหน่วยงานหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับดรรชนีบทความวารสารภาษาไทย คือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI – Thai Journal Citation Index Centre)  TCI ได้บันทึกข้อมูลบทความวารสารพร้อมรายการเอกสารอ้างอิงของแต่ละบทความเพื่อวัตถุประสงค์ในการคำนวณค่า Impact Factor ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทยที่มีความสมบูรณ์ กล่าวคือวารสารชื่อใดที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในฐานข้อมูลของ TCI ทางผู้จัดพิมพ์จะส่งตัวเล่มวารสารให้ TCI อย่างครบถ้วน ตามข้อมูลที่ TCI เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 ด้วยจำนวนวารสารที่คัดเลือกเข้าสู่ฐาน 68 ชื่อเรื่อง จนถึงปี พ.ศ. 2557 TCI มีจำนวนวารสารถึง 540 ชื่อเรื่อง (http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/history.html) จึงคาดว่าฐานข้อมูลของ TCI จะครอบคลุมบทความวารสารตั้งแต่ปี 2544 – ปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่างฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับฐานข้อมูลของ TCI  คือ ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีบทความวารสารจำนวนปีย้อนหลังมากกว่า ในขณะที่ฐานข้อมูลของ TCI  แม้จะครอบคลุมบทความเพียงระหว่างปี 2544 – ปัจจุบัน แต่ในระหว่างปีที่ครอบคลุมก็มีบทความครบถ้วน และทันสมัยกว่า
ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือฐาน TJI เกิดจากความร่วมมือกันบันทึกข้อมูลของห้องสมุดหลายแห่งในจุฬาฯ ยังคงพบปัญหาเช่นเดียวกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่นๆ คือ ความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ของฐานข้อมูล ตระหนักถึงแนวทางการทำให้ฐานข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนกับ TCI  คณะทำงานพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควรรับฟังแนวคิด และข้อมูลจาก ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และ คณะทำงานฝ่ายวารสารและเอกสาร ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน หรือแบ่งปันข้อมูลกัน
2.วัตถุประสงค์
1)  เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรม ได้รับทราบข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2)  เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการแก้ไขปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และความไม่สมบรูณ์ของฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร
3)  เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และความไม่สมบรูณ์ของฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร
3.ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการประสานงานระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัย
4.คณะกรรมการดำเนินงาน
คณะทำงานพัฒนาศักยภาพบุคลากรห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (คุณก้อย โทรศัพท์ 85726)
5.วิทยากร
5.1 ผู้ดูแลฐาน TJI สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น.ส.ชนิดา จริยาพรพงศ์  บรรณารักษ์
บรรณารักษ์ (ชำนาญการ) P5
ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ   
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    
5.2 ผู้แทนจาก คณะทำงานฝ่ายวารสารและเอกสาร ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
นางสาวอุษณีย์  เพ็งเที่ยง
บรรณารักษ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล          
5.3 ผู้แทนจาก ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
นางปรียานุช รัชตะหิรัญ
นักบริการการศึกษา (ประจำคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: มจธ.
5.4 ผู้แทนจาก สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสาววนิดา วารีเศวตสุวรรณ
บรรณารักษ์ ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (คณะรัฐศาสตร์)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
6.ผู้เข้าร่วมโครงการ
หัวหน้าห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบรรณารักษ์ที่ดูแลฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทย จำนวน 70 คน
7. ระยะเวลาในการอบรม  และสถานที่ในการจัดบรรยาย
วันที่ 26 เมษายน 2560  เวลา 08.30-13.00 น.  ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร  
8. ผลผลิต
การเสวนา เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารที่ตรงกัน
9. ผลลัพธ์
ผู้เข้ากิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ และได้แนวทางในการลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และแนวทางการทำฐานดรรชนีบทความวารสารมีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น
………………………………………………….
กำหนดการ
โครงการเสวนา Professional Development : ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารภาษาไทย TJI, TCI, สกอ. ร่วมมือกันได้อย่างไรดี
——————
วันที่ 26 เมษายน 2560    
08:20 – 08:45 น. ลงทะเบียน
08:45 – 09.00 น. กล่าวเปิดงาน
โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม
รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
09.00 – 10:30 น. การเสวนา ข้อมูลการจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสารของ
คณะทำงานฝ่ายวารสารและเอกสาร, ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
และสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย น.ส.ชนิดา จริยาพรพงศ์  บรรณารักษ์ นางสาวอุษณีย์  เพ็งเที่ยง
นางปรียานุช รัชตะหิรัญ และนางสาววนิดา วารีเศวตสุวรรณ
10:30 – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:00 น. การเสวนา แนวทางและความเป็นไปได้ในการทำงานร่วมกัน หรือแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อน และความไม่สมบูรณ์ของฐานข้อมูล
โดย น.ส.ชนิดา จริยาพรพงศ์  บรรณารักษ์ นางสาวอุษณีย์  เพ็งเที่ยง
     นางปรียานุช รัชตะหิรัญ และนางสาววนิดา วารีเศวตสุวรรณ
12:00 – 13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
———————————————-